EP.2 การสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลด้วย Google Form

Google Form เป็นบริการหนึ่งของผลิตภัณฑ์ Google แอปพลิเคชัน โดยมีความสามารถในการเก็บข้อมูลตามที่ผู้ออกแบบกำหนดในรูปแบบของช่องเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ แต่มีข้อจำกัดโดยผู้ใช้งานจะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เนตตลอดเวลาการใช้งาน และหากเก็บข้อมูลพิกัด GPS จะต้องมีการติดตั้งระบบเพิ่มเติมนอกเหนื่อจากบริการหลัก

วิธีการใช้งานระบบ Google Form

การเข้าใช้งานระบบของ Google Form จะสามารถเข้าได้หลายวิธี โดยเว็บบราวเซอร์ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานแนะนำเป็น Google Chrome และสามารถเข้าใช้งานได้โดยคลิกที่จุด 9 จุดดังภาพ และเลือกฟอร์ม ระบบจะทำการลิงก์ไปยังหน้า Google Form โดยอัตโนมัติ หรือผู้ใช้งานจะเข้าผ่าน URL โดยการพิมพ์ข้อความ Form.new ระบบจะทำการลิงก์ไปยังหน้า Google Form โดยอัตโนมัติเช่นกัน

Google Form เป็นบริการหนึ่งของผลิตภัณฑ์ Google แอปพลิเคชัน โดยมีความสามารถในการเก็บข้อมูลตามที่ผู้ออกแบบกำหนดในรูปแบบของช่องเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ แต่มีข้อจำกัดโดยผู้ใช้งานจะต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เนตตลอดเวลาการใช้งาน และหากเก็บข้อมูลพิกัด GPS จะต้องมีการติดตั้งระบบเพิ่มเติมนอกเหนื่อจากบริการหลัก

วิธีการใช้งานระบบ Google Form

  • บริเวณส่วนที่ 1 ชื่อฟอร์ม ใช้ในการกำหนดชื่อแบบฟอร์มงาน โดยเมื่อผู้ใช้งานเปลี่ยนชื่อฟอร์มบริเวณส่วนนี้ ระบบจะทำการเปลี่ยนชื่อหัวฟอร์มให้โดยอัตโนมัติ โดยการกำหนดชื่อฟอร์มควรสื่อถึงเนื้อหาที่อยู่ในแบบฟอร์ม และหากต้องการอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกคำอธิบายแบบฟอร์ม (ด้านล่างชื่อหัวเรื่อง) เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้มากขึ้น
  • บริเวณส่วนที่ 2 ส่วนข้อคำถาม เป็นส่วนที่ใช้แสดงผล Google Form (ภาพประกอบ 2.4) โดยส่วนนี้ใช้ในการออกแบบคำถามที่ผู้ใช้งานต้องการ สามารถพิมพ์ข้อคำถามได้บริเวณ 2.1 และสามารถเลือกรูปแบบคำถามได้บริเวณกล่องข้อความด้านขวามือ โดยรูปแบบของคำตอบจะแสดงผลบริเวณ 2.2 ให้ผู้ใช้งานได้เห็น นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่นๆ เช่น บริเวณ 2.3 ใช้ในการทำสำเนาข้อคำถามนี้ บริเวณ 2.4 ใช้ลบข้อคำถามนี้ และ บริเวณ 2.5 ใช่ในการบังคับให้ผู้ตอบคำถาม ต้องตอบคำถามข้อนี้ หากผู้ตอบคำถามลืมตอบ จะไม่สามารถส่งคำตอบทั้งหมดได้

3. บริเวณที่ 3 รูปแบบคำตอบที่ต้องการ ใช้ในการเลือกคำตอบที่ต้องการ โดยสามารถเลือกรูปแบบคำตอบได้หลากหลาย 11 รูปแบบดังนี้

  • คำตอบสั้นๆ : เป็นการเลือกคำตอบสั้นๆ ที่สามารถตอบได้เพียง 1 บรรทัด ไม่สามารถขึ้นบรรทัดใหม่ได้
  • ย่อหน้า : เป็นการเลือกคำตอบที่ยาวมากขึ้น และสามารถขึ้นบรรทัดใหม่ได้ในคำตอบ
  • หลายตัวเลือก : เป็นการเลือกตัวเลือกที่กำหนดแบบปรนัยที่กำหนดคำตอบไว้แล้ว โดยสามารถเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้น
  • ช่องทำเครื่องหมาย : เป็นการเลือกตัวเลือกที่กำหนดแบบปรนัยที่กำหนดคำตอบไว้แล้ว แต่มีความแตกต่างกับแบบหลายตัวเลือกคือ สามารถเลือกได้หลายตัวเลือก
  • เลื่อนลง : เป็นการเลือกตัวเลือกที่กำหนดแบบปรนัยที่กำหนดคำตอบไว้แล้ว เลือกได้เพียง 1 ตัวเลือก คล้ายแบบหลายตัวเลือกแต่ รูปแบบการนำเสนอจะแตกต่างออกไป และประหยัดพื้นที่ในการนำเสนอมากกว่า
  • อัปโหลดไฟล์ : เป็นการเลือกคำตอบ โดยให้อัปโหลดไฟล์ประเภทต่างๆ แต่การใช้ตัวเลือกนี้ผู้ตอบแบบฟอร์มต้อง Login ด้วย Gmail เพื่อตอบคำถาม
  • สเกลเชิงเส้น : เป็นการเลือกคำตอบ โดยกำหนดเป็นเชิงเส้นตัวเลข เช่น 1-5 หรือ มาก-น้อย นิยมใช้วัดระดับความพึงพอใจ หรือระดับความสุข เป็นต้น
  • ตารางตัวเลือกหลายข้อ : ข้อคำตอบนี้ คล้ายแบบหลายตัวเลือก โดยเลือกคำตอบได้เพียง 1 ตัวเลือก โดยจะใช้ในกรณีที่คำตอบเหมือนกัน แต่คำถามมีหลายคำถาม
  • ตารางกริดช่องทำเครื่องหมาย : ข้อคำตอบนี้ คล้ายแบบช่องทำเครื่องหมาย โดยเลือกคำตอบได้หลายตัวเลือก โดยจะใช้ในกรณีที่คำตอบเหมือนกัน แต่คำถามมีหลายคำถาม
  • วันที่ /เวลา : ข้อคำถามนี้ ใช้ตอบในกรณีที่ต้องการถามวันที่ และเวลา

ภาพแสดงตัวอย่างคำตอบแบบหลายตัวเลือก โดยสามารถกำหนดตัวเลือกที่กำหนดลงในตัวเลือกได้ และสามารถเพิ่ม “อื่นๆ” ลงในข้อสุดท้าย กรณีไม่มีในตัวเลือก เพื่อให้ผู้ตอบคำถามเพิ่มตัวเลือกได้เอง

ภาพแสดงฟังก์ชันพิเศษเพิ่มเติมโดยสามารถกดที่จุดสามจุดบริเวณมุมล่างขวาของคำตอบจะปรากฎ 3 ฟังก์ชันได้แก่ 1. คำอธิบาย จะใช้กรณีต้องการอธิบายคำถาม คำตอบเพิ่มเติม 2. ไปยังส่วนที่ระบุในคำตอบ จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ตอบคำถามไปยังส่วนที่ระบุ เช่น คำถามข้อที่ 1 ตอบตัวเลือกที่ 1 แล้วข้ามไปที่ข้อ 3 คำถามข้อที่ 1 เช่นเคยแต่เลือกตัวเลือกที่ 2 แล้วข้ามไปที่ข้อ 4 เป็นต้น และ 3 สลับลำดับของตัวเลือก จะเป็นการสลับตัวเลือกข้อคำตอบ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และเป็นการป้องกันการลอกคำตอบ

ภาพที่ 2.8 แสดงตัวอย่างการเลือกคำตอบแบบช่องทำเครื่องหมาย เหมาะกับคำถามที่ต้องการคำตอบแบบสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มช่องคำตอบ เพิ่ม “อื่นๆ” ในกรณีที่ไม่มีในตัวเลือก

ภาพที่ 2.9 แสดงตัวอย่างหน้าบ้านการเลือกคำตอบแบบช่องทำเครื่องหมาย ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่า สามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ

ภาพที่ 2.10 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน เลือกคำตอบแบบเลื่อนลง โดยลักษณะคำตอบจะคล้ายแบบหลายตัวเลือก กล่าวคือจะสามารถเลือกตอบได้เพียง 1 ตัวเลือกคำตอบจากข้อคำถามนี้ แต่จะประหยัดพื้นที่ในการแสดงผลมากกว่า

ภาพที่ 2.11 แสดงตัวอย่างระบบหน้าบ้าน เลือกคำตอบแบบเลื่อนลง ดังภาพจะแสดงให้เห็นเมื่อมีการกดเลือกคำตอบ จะมีแถบคำตอบให้เลือกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกตอบได้เพียง 1 คำตอบเท่านั้น

ภาพที่ 2.12 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน เลือกคำตอบแบบอัปโหลดไฟล์ โดยผู้สร้างฟอร์มสามารถเลือกให้อัปโหลดประเภทของไฟล์ได้ 8 รูปแบบได้แก่ เอกสาร สเปรชีต PDF วิดีโอ งานนำเสนอ ภาพวาด รูปภาพ และเสียง นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดจำนวนไฟล์ในการอัปโหลด และขนาดสูงสุดของไฟล์ที่สามารถอัปโหลดได้ เมื่อผู้ตอบแบบสอบถามทำการอัปโหลดไฟล์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะรวมกันในไดร์ ซึ่งสามารถจำกัดขนาดเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ

ภาพที่ 2.13 แสดงตัวอย่างระบบหน้าบ้าน เลือกคำตอบแบบอัปโหลดไฟล์ ซึ่งเมื่อผู้ใช้แบบฟอร์มต้องการอัปโหลดเอกสาร หรือไฟล์ต่างๆ ระบบของ Google จะบังคับให้ผู้ใช้งาน Login เข้าระบบทุกครั้งเพื่อป้องกันการสแปมของข้อมูล และเพื่อความปลอดภัยในการอัปโหลดไฟล์เข้าสู่ไดร์ของผู้เก็บข้อมูล

ภาพที่ 2.14 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน เลือกคำตอบแบบสเกลเชิงเส้น จากภาพจะเห็นได้ว่าผู้สร้างแบบสอบถามสามารถกำหนดสเกลเชิงเส้นได้จาก 1 – 5 หรือมากกว่า และสามารถใส่ป้ายกำหนดตัวเลขได้เช่น 1 หมายถึงน้อยที่สุด 5 หมายถึงมากที่สุด เป็นต้น เมื่อมีผู้ตอบแบบสอบถามระบบจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตัวเลข

ภาพที่ 2.15 แสดงตัวอย่างระบบหน้าบ้าน เลือกคำตอบแบบสเกลเชิงเส้น โดยระบบจะแสดงสเกลเชิงเส้นจาก 1 – 5 ตามที่ผู้สร้างฟอร์มกำหนด และมีป้ายกำกับอธิบายความหมาย คำตอบประเภทสเกลเชิงเส้นเหมาะกับประเภทคำถามที่สามารถวัดได้ด้วยระดับการวัดเชิงเส้น เช่น ระดับความพึงพอใจ ระดับความทุกข์ ระดับความสุข หรือระดับความเจ็บปวด เป็นต้น

ภาพที่ 2.16 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน ตารางตัวเลือกหลายข้อ โดยประกอบไปด้วยแถบซ้ายมือ (แถว) ในส่วนนี้เป็นส่วนใส่ข้อคำถามที่ผู้สร้างแบบฟอร์มต้องการ และส่วนแถบขวามือ (คอลัมน์) ในส่วนนี้เป็นส่วนใส่คำตอบที่ผู้สร้างแบบฟอร์มต้องการ โดยส่วนคำตอบนี้จะนำไปใช้กับทุกข้อคำถามในแถว และการเลือกใช้ตารางตัวเลือกหลายข้อ จะสามารถตอบได้เพียง 1 ข้อในแถวนั้นๆ

ภาพที่ 2.17 แสดงตัวอย่างระบบหน้าบ้าน ตารางตัวเลือกหลายข้อ โดยใน 1 แถวสามารถเลือกคำตอบจากคอลัมน์ได้เพียง 1 คำตอบเท่านั้น ซึ่งจะคล้ายกับคำตอบแบบช่องทำเครื่องหมายแต่ตารางตัวเลือกหลายข้อนี้จะเหมาะกับชุดคำถามที่มีคำตอบเหมือนกัน ซึ่งจะสะดวกต่อผู้ใช้งานประหยัดพื้นที่ในการแสดงผลมากกว่า

ภาพที่ 2.18 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน ตารางกริดช่องทำเครื่องหมาย โดยประกอบไปด้วยแถบซ้ายมือ (แถว) ในส่วนนี้เป็นส่วนใส่ข้อคำถามที่ผู้สร้างแบบฟอร์มต้องการ และส่วนแถบขวามือ (คอลัมน์) ในส่วนนี้เป็นส่วนใส่คำตอบที่ผู้สร้างแบบฟอร์มต้องการ โดยส่วนคำตอบนี้จะนำไปใช้กับทุกข้อคำถามในแถว และการเลือกใช้ตารางตัวเลือกหลายข้อ จะสามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อในแถวนั้นๆ

ภาพที่ 2.19 แสดงตัวอย่างระบบหน้าบ้าน ตารางกริดช่องทำเครื่องหมายโดยใน 1 แถวสามารถเลือกคำตอบจากคอลัมน์ได้มากกว่า 1 คำตอบซึ่งจะคล้ายกับคำตอบแบบหลายตัวเลือก แต่ตารางตัวเลือกหลายข้อนี้จะเหมาะกับชุดคำถามที่มีคำตอบเหมือนกัน ซึ่งจะสะดวกต่อผู้ใช้งานประหยัดพื้นที่ในการแสดงผลมากกว่า

ภาพที่ 2.20 และ 2.21 แสดงตัวอย่างหลังบ้าน การตอบแบบสั้นๆ โดยคำตอบแบบสั้นๆเหมาะกับคำตอบที่ต้องการตอบไม่เกิน 1 บรรทัด ไม่สามารถขึ้นบรรทัดใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันพิเศษในการตรวจการตอบกลับ โดยกดที่จุดสามจุดมุมขวาล่าง โดยฟังก์ชันนี้จะเหมาะกับการตรวจสอบคำตอบที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ให้กรอกเพียงตัวเลขเท่านั้น หรือ ให้กรอกข้อความที่กำหนดเท่านั้น หากผิดจากกฎที่ตั้งขึ้น ระบบจะทำการแจ้งเตือน และไม่ให้ลงข้อมูลในข้อนั้นๆ

ภาพที่ 2.22 แสดงตัวอย่างหน้าบ้าน การตอบแบบสั้นๆ โดยผู้ตอบแบบฟอร์มสามารถลงข้อมูลได้ในช่องว่างที่กำหนด ไม่สามารถ Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ได้

ภาพที่ 2.23 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การตอบแบบย่อหน้า เหมาะกับประเภทคำตอบที่ต้องการอธิบายมากกว่า 1 บรรทัดขึ้นไป คำตอบสามารถขึ้นบรรทัดใหม่ได้ นอกจากนี้ฟังก์ชันต่างๆ สามารถใช้งานได้เหมือนประเภทคำตอบแบบสั้นๆ ทุกประการ

ภาพที่ 2.24 แสดงตัวระบบอย่างหน้าบ้าน การตอบแบบย่อหน้า โดยสามารถสังเกตได้จากเส้นที่มีความยาวมากกว่าประเภทคำตอบแบบสั้นๆ ผู้ตอบแบบฟอร์มสามารถลงข้อมูลในช่องว่างนี้ได้ และสามารถ Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ได้

ภาพที่ 2.25 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มคำถาม จะใช้ในกรณีที่ผู้สร้างแบบฟอร์มต้องการขึ้นคำถามข้อใหม่ โดยคำถามข้อใหม่จะปรากฎขึ้นถัดไปจากข้อที่สร้างเสร็จก่อนแล้ว และสามารถกดเลื่อนคำถามขึ้นลงได้บริเวณจุดหกจุดตรงกลางข้อคำถามนั้นๆ

ภาพที่ 2.26 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การนำเข้าคำถาม จะใช้ในกรณีที่ผู้สร้างแบบฟอร์มมีแบบฟอร์มเดิม หรือแบบฟอร์มบางส่วนอยู่ก่อนแล้วในรูปแบบของ Google Form ซึ่งระบบจะเปิดหน้าใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกฟอร์มเดิม เพื่อนำเข้าข้อมูล

ภาพที่ 2.27 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มชื่อและรายละเอียด ซึ่งจะไม่นับเป็นข้อคำถาม จะใช้ในกรณีที่ผู้สร้างฟอร์มต้องสร้างหัวเรื่องใหม่ อธิบายหัวข้อใหม่ เป็นต้น

ภาพที่ 2.28 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มรูปภาพในข้อคำถาม โดยรูปภาพที่เพิ่มอาจใช้ประกอบข้อคำถามในระบบ แต่จะไม่นับรูปภาพนั้นๆ เป็นคำถาม ภาพที่ใช้ในการอัปโหลดควรมีนามสกุล JPG หรือ PNG

ภาพที่ 2.29 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มวิดีโอประกอบการตอบคำถาม ซึ่งสามารถใช้ในรูปแบบของลิงก์ URL หรือสามารถกดค้นหาในระบบของ Youtube

ภาพที่ 2.30 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มส่วนคำถาม ในฟังก์ชันนี้ใช้เพื่อแบ่งส่วนของคำถามให้มีความเป็นระเบียบมากขึ้น โดยมีการแบ่งคำถามออกเป็นส่วน ประเภทตามที่ผู้ออกแบบคำถามกำหนด

ภาพที่ 2.31 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การตอบกลับของข้อมูล ในส่วนนี้จะแสดงผลเมื่อมีผู้ตอบแบบฟอร์มที่สร้างขึ้น ในรูปแบบกราฟและข้อความแสดงผล นอกจากนี้ยังสามารถสร้างตาราง Sheet เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยกดที่หมายเลข 1 และยังสามารถกำหนดการรับข้อมูลได้โดยกดที่หมายเลข 2 เพื่อเปิด-ปิด การรับข้อมูลจากแบบฟอร์ม

ภาพที่ 2.32 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การสร้าง Sheet เพื่อสร้างฐานข้อมูลโดยระบบจะเลือกให้สร้างสเปรตชีทใหม่ ในกรณีที่ผู้สร้างแบบฟอร์มยังไม่เคยสร้างมาก่อน หรือ กรณีที่ผู้สร้างฟอร์มมีฐานข้อมูลเดิมอยู่แล้ว สามารถเลือกสเปรตชีตที่มีอยู่เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลเดิมได้

ภาพที่ 2.33 แสดงตัวอย่างหลังบ้าน การตั้งค่าแบบฟอร์ม โดยสามารถเข้าถึงได้จากแถบด้านบน การตั้งค่าแบบฟอร์มนี้เป็นส่วนสำคัญในการปรับแต่งฟังก์ชันต่างๆ หลังจากสร้างแบบฟอร์มเสร็จสิ้นแล้ว โดยในส่วนนี้ประกอบด้วย

  • ทำเป็นแบบทดสอบ ซึ่งระบบจะมีการให้สร้างเฉลยและการให้คะแนน
  • การรวบรวมอีเมล หากต้องการอีเมลของผู้กรอกแบบฟอร์ม
  • การส่งสำเนาคืนแก่ผู้ตอบแบบฟอร์ม ซึ่งระบบจะบังคับให้เก็บอีเมลโดยอัตโนมัติ โดยฟังชันนี้จะให้ผู้กรอกแบบฟอร์มเลือกให้ส่งข้อมูลที่กรอกลงในฟอร์มเข้าสู่อีเมล
  • การอนุญาตให้แก้ไขคำตอบ ซึ่งระบบจะบังคับให้เก็บอีเมลโดยอัตโนมัติ โดยฟังชันนี้จะบังคับให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบได้เพียงครั้งเดียว แต่สามารถเข้าไปแก้ไขคำตอบได้หลังจากที่ส่งคำตอบแล้ว
  • การจำกัดสิทธิ์ในการตอบแบบฟอร์ม ผู้ใช้งานสามารถจำกัดสิทธิ์ผู้เข้าถึงแบบฟอร๋มได้โดยใช้ฟังชันนี้
  • จำกัดการให้ตอบกลับได้เพียง 1 ครั้ง ซึ่งระบบจะบังคับให้เก็บอีเมลโดยอัตโนมัติ จะเป็นการบังคับให้ตอบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

ภาพที่ 2.34 การตั้งค่างานนำเสนอ จะใช้ตั้งค่าแบบฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นแบบฟอร์มในแบบที่ผู้สร้างกำหนดโดยประกอบด้วย

  • แสดงแถบความคืบหน้า เป็นการแสดงความคืบหน้าในรูปแบบของเส้นแสดงความคืบหน้าเพื่อให้ผู้ตอบแบบเห็นลำดับในการตอบแบบสอบถาม
  • สับเปลี่ยนลำดับของคำถาม เป็นการสลับข้อคำถามโดยการสุ่ม ไม่เหมาะกับข้อคำถามที่มีการเรียงคำถามไว้แล้ว
  • ข้อความยืนยัน เป็นการส่งข้อความยืนยันหลังจากผู้ตอบแบบสอบถามส่งคำตอบแล้ว
  • แสดงลิงก์เพื่อส่งการตอบกลับอื่น เป็นฟังก์ชันหนึ่งเมื่อผู้ตอบแบบสอบถามส่งคำตอบแล้ว จะปรากฎลิงก์เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถส่งคำตอบอื่นได้อีก โดยไม่ต้องเข้าสู่แบบฟอร์มใหม่อีกครั้ง
  • ดูสรุปคำตอบ ใช้เพื่อดูคำตอบสรุป
  • ปิดใช้การบันทึกอัตโนมัติสำหรับผู้ตอบทุกคน เป็นฟังก์ชันใหม่ล่าสุดที่สามารถบันทึกการตอบในฟอร์มได้ หากผู้ใช้งานขาดการเชื่อมต่อจากระบบอินเตอร์เนต ระบบจะทำการบันทึกไว้ให้อัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบอีกครั้งข้อความเดิมที่กรอกไว้ในฟอร์มจะปรากฎขึ้นอีกครั้ง

ภาพที่ 2.35 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การตกแต่งแบบฟอร์มให้มีความสวยงาม โดยผู้สร้างฟอร์มสามารถกดเปลี่ยนธีมได้จากตัวเลือกนี้ หรือสามารถอัปโหลดภาพหน้าปกฟอร์มได้จากส่วนนี้

ภาพที่ 2.36 แสดงระบบหลังบ้าน การเพิ่มผู้ทำงานร่วมกันในกรณีที่ผู้สร้างฟอร์มมีมากกว่า 1 คน โดยสามารถทำงานไปพร้อมกันได้ เพียงกำหนดสิทธิ์ให้แก้ไขฟอร์มดังกล่าวได้ และเพิ่มผู้ทำงานร่วมกันด้วยการใส่ชื่ออีเมลของผู้ใช้งานคนอื่นๆ ในทีม (จำกัดเฉพาะ Gmail)

ภาพที่ 2.37 แสดงตัวอย่างระบบหลังบ้าน การเพิ่มพิกัด GPS โดยการใช้สคริปต์ ซึ่งเป็นฟังก์ชันพิเศษที่จะมีการเพิ่มพิกัด GPS ให้โดยอัตโนมัติ โดยผู้สร้างฟอร์มสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้โดยการใช้โปรแกรมแก้ไขสคริปต์ดังภาพ

ภาพที่ 2.38 ระบบจะเพิ่มหน้าต่างใหม่ดังภาพข้างต้น โดยแถบซ้ายมือ รหัสgs. ให้ผู้สร้างฟอร์มเข้าไปที่ลิงก์ https://bit.ly/3BNoGmN และเข้าไปที่ไฟล์ รหัสgs. ทำการคัดลอกข้อมูลในไฟล์นั้นและนำมาวางที่หน้า App Script นี้

กดเครื่องหมาย + ดังภาพ และเลือกชนิด html จากนั้นตั้งชื่อไฟล์ดังกล่าวว่า Index.html จากนั้นเข้าไปที่ลิงก์ https://bit.ly/3BNoGmN และทำการ Copy โค้ดในไฟล์ Index.html ไปวางในหน้าต่าง AppScript แล้วทำการบันทึก

เมื่อทำการสร้าง รหัส gs. และ Index.html แล้วให้ทำการกดที่มุมบนขวา การทำให้ใช้งานได้ และเลือกการทำเว็ปแอป และกำหนดสิทธิ์ผู้เข้าถึงได้เป็น ทุกคน เพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้าถึงได้เมื่อทำ Google Form จากนั้นกดการทำให้ใช้งานได้ ระบบจะทำการขอสิทธิ์ในการเข้าถึง ให้ผู้สร้าง Login ด้วยอีเมล และให้สิทธิ์เข้าถึงทั้งหมด

เว็ปแอปจะขอเข้าสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆของอีเมลผู้สร้าง ให้กดอนุญาตเพื่อดำเนินการต่อไป

เมื่อทำรายการสำเร็จระบบจะแสดงดังภาพ ผู้สร้างสามารถทดสอบเว็ปแอปนี้ได้โดยการคัดลอง URL เพื่อนำไปใช้งาน และนำ URL นี้ไปติดตั้งในส่วนการตั้งค่าของ Google Form > ข้อความตอบกลับ หลังจากนั้นวาง URL ที่นี่ได้ทันทีเป็นอันเสร็จสิ้นการทำงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *