ประวัติความเป็นมา

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System) ถูกนำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล อย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน สามารถค้นหาข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็ว และยังสามารถนำผลการวิเคราะห์ไป ใช้ในการตัดสินใจได้

            ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System; GIS) เป็นเครื่องมือที่นำแผนที่มาทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูล ให้กลายเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ให้สามารถแสดงและรายงานผลข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยง ความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่น ๆ โดยการนำเสนอข้อมูล จะอ้างอิงตามลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ 1) การนำเสนอแบบจุด (Point) ใช้แสดงตำแหน่งของพื้นท่ีน้ันๆ เช่น ตำแหน่งร้านชำ ร้านยา ตำแหน่งสถานที่สำคัญต่างๆในชุมชน และ 2) การนำเสนอแบบพื้นท่ี (Polygon) ใช้แสดงลักษณะของพื้นที่หรือขอบเขต เช่น เขตพื้นที่ ตำบล จังหวัด พื้นที่การระบาด พื้นที่การกระจายตัว เป็นต้น การวิเคราะห์เชิงพื้นที่(Spatial Analysis) เป็นวิธีการผลิตสารสนเทศภูมิศาสตร์เพิ่มเติม โดยใช้ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือการเน้นโครงสร้างของพื้นที่ ได้แก่ 1) เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay) เป็นเทคนิคการนำข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) หลายชั้น ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic Data) ข้อมูลอรรถธิบาย(Attribute data) มาซ้อนทับกันด้วยปฏิบัติการทางตรรกะ (Logical Operations) เช่น การแสดงผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์โดยสามารถจำแนกได้ตามที่กำหนด เช่น ขนาด สี ข้อมูลต่างๆ

            ในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษพบว่าในปัจจุบันมีการใช้การเก็บข้อมูลโดยการจดบันทึก และทำการรวบรวมแบบแยกส่วน ซึ่งทำให้เกิดข้อผิดพลาดและยากต่อการประมวลผล ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการพัฒนาระบบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงานและสามารถใช้ข้อมูลแสดงผลแบบทันทีทันใดเมื่อมีการนำเข้าข้อมูลในระบบ (Real Time) ในการเฝ้าระวังร้านชำในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษขึ้น โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาแบบฟอร์ม google form และรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลกลางและนำไปประมวลผล เพื่อใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังความปลอดภัยในร้านชำในเขตพื้นที่ศรีสะเกษ